วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562

6th learning record


Date : 13 September 2019

       
           วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มได้เลือกเอาไว้ โดยนำเสนอที่ละกลุ่ม โดยใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย คือ

ทักษะทางวิทยาศาตร์
      ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์
     ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ
 ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
     ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้
     ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)
ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

     ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย

     ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ความหมาย : เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย

     ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)
ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า ๆ หลักการ กฏ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล

     ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
ความหมาย : เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน

     ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น

     ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ

     ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)
ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การออกแบบการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง

     ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)
ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก



؁؁؁؁؁؁ 



          หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน และสอนเรื่องแหล่งน้ำที่มีชื่อเสียง ที่จะนำไปสอนเด็กว่าน้ำมาจากไหน มาจากแหล่งใดได้บ้าง โดยอาจาย์ได้แจกกระดาษกลุ่มละ 1 แผ่นโดยให้แต่ละกลุ่มวาดรูปแหล่งน้ำที่มีชื่อเสียง อะไรก็ได้มา 1 สถานที่ โดยที่ห้ามบอกว่าสถานที่วาดนั้นเป็นสถานที่อะไร
และให้เพื่อนทายว่าสถานที่ที่เราวาดนั้นเป็นสถานที่อะไร





          จากนั้นก็สอนเรื่องแหล่งน้ำต่อ โดยสมมุติสถานการณ์ว่าถ้าเกิดปัญหาภัยแล้ง และจะต้องสูบน้ำเพื่อมาเก็บไว้ใช้ โดยที่เราจะต้องออกแบบแทงก์น้ำ และให้สร้างโดยใช้ เทป และกระดาษหนังสือพิมพ์ 5 แผ่น โดยต้องสร้างให้สูงอย่างน้อย 5 ฝ่ามือ และเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะต้องสามารถวางพานไว้ด้านบนได้โดยไม่ล้ม 




          แต่ละกลุ่มได้ออกแบบแทงก์น้ำของตนเองโดยร่วมแรง และช่วยกันคิดวางแผนว่าถ้าทำแบบไหนแทงก์น้ำของกลุ่มตนเองจะแข็งแรงที่สุด ทำให้เราได้ทักษะการแก้ไขปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้แทงก์น้ำแข็งแรง 
         จากการเรียนวันนี้ได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ คือ การวัด ความสูง รูปทรง รูปร่าง
การสอนตามหลัก STEM คือ
  • S Science วิทยาศาสตร์
  • T Technology เทคโนโลยี
  • E engineering การออกแบบ
  • M math คณิตศาสตร์



؁؁؁؁؁؁ 



**  VOCABULARY  **

1. Problem-solving > การแก้ปัญหา
2. Reservoir > อ่างเก็บน้ำ
3. Weir > เขื่อน
4. Canal > คลอง
5. Place > สถานที่






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น