วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

2nd learning record



Date : 14 August 2019

                                       #เรียนชดเชยของวันศุกร์ ที่ 23 สิงหาคม 2562

          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 4 - 5 คน และให้ถ่ายรูปสมาชิกและเขียนชื่อสมาชิกในกลุ่ม ลงในเว็บไซต์ padlet.com 





          และอาจารย์ได้ให้ตอบคำถามลงไปว่า คิดว่าวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เรียนเกี่ยวกับอะไร 
          จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาตบมือ 3 ครั้งและถามว่าจะให้ตบมือทำไม คำตอบที่ตอบคือ 1.เพราะอาจารย์สั่ง คือเป็นความจริง และ  2.เพื่อเรียกสมาธิ คือเป็นการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คือเกิดการประมวลผลและเกิดการเชื่อมโยงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ การตบมือเป็นการสั่งการมาจากสมอง โดยสมองเก็บข้อมูลมาได้จากการฟัง  คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นตัวเก็บข้อมูลเพื่อให้มีการสั่งการไปที่สมอง เพื่อให้สมองนำไปประมวลและสั่งการไปที่ร่างกาย 

            วิธีการเรียนรู้ของเด็กจะต้องเรียนรู้โดยเริ่มจากเรื่องง่ายไปเรื่องยาก ซับซ้อนน้อยไปซับซ้อนมาก และออกแบบวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยใช้เพลงเป็นสื่อเพื่อให้เด็กเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ  
           การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสมอง มีการยกตัวอย่างคือ เด็กได้ตุ๊กตาแมวมาและสามารถเล่นได้ กอดได้ ตีแล้วแมวไม่กัด แต่พอเจอเหมือนตุ๊กตาแมว ร้องได้แต่ต่างตรงที่แมวที่เคลื่อนที่ได้ เดินได้ สมองจึงเกิดการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ เป็นการรับรู้ของสมอง ถ้าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่เข้าไปหาแมวอีก แสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้แล้ว  เป็นการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ ดังที่ เพียเจต์พูดไว้ โดยแบ่งขั้นพัฒนาการตามช่วงวัยออกเป็น 4 ขั้น คือ
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว ( Sensorimotor ) แรกเกิด - 2 ปี 
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการ 2 - 4 ปี มีตุดเน้นเรื่องการใช้ภาษา ใช้เหตุผลเล็กน้อย
3.ขั้นปฏิบัติการ คือการที่เด็กใช้เหตุผลในการคิดแก้ไขปัญหา เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์  
4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
          พัฒนาการ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง (เหมือนขั้นบันได) ดังนั้น จึงต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กตามพัฒนาการของเด็ก ถ้ายากเกินไปเด็กจะรู้สึกไม่อยากทำ แต่ถ้าง่ายเกิน เด็กจะเบื่อเพราะทำได้อยู่แล้ว




؁؁؁؁؁؁
         
          จากนั้นอาจารย์ก็ได้สั่งงานกลุ่ม โดยแบ่งหัวข้อแต่ละกลุ่มเป็นดังนี้
  • แสง
  • อากาศ
  • น้ำ
  • เสียง
  • เครื่องกล
  • ดิน หิน ทราย
              กลุ่มของดิฉันได้ทำในหัวข้อ น้ำ และให้หาเนื้อหาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก โดยที่เนื่อหาจะต้องเกี่ยวข้องกับตัวเด็ก ชีวิตประจำวันของเด็ก และเด็กจะต้องเรียนรู้ได้
โดยแบ่งประเด็นเนื้อหา คือ
  • ที่มา และแหล่งกำเนิด
  • ลักษณะ คุณสมบัติ 
  • ความสำคัญ ประโยชน์ 
  • การดูแลรักษา 
  • โทษ ข้อระวัง ผลกระทบ


؁؁؁؁؁؁

**  VOCABULARY  **


1. Development  > พัฒนาการ
2. Movement > การเคลื่อนไหว
3. Group > กลุ่ม
4. Activity > กิจกรรม
5. Learning > การเรียนรู้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น